วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วัน  อังคาร  ที่  19  เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ.  2556

ความรู้ที่ได้รับ

           **  ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากเป็นไข้ทับฤดู  ปวดท้องมากจึงขอลาหยุดเป็นเวลา 1 วัน
(เนื้อหาคัดลอกมาจาก  เพชรลัดดา  บุตรมิตร )

- อาจารย์แจ้ง วันเวลา ในการทำกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

          - อาจารย์ได้สรุปคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในทุกๆรายวิชาที่ได้เรียนมา(ภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์)
          - ให้นักศึกษาแต่ละคนสรุปในสิ่งที่ตนได้รับจากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก

งานที่ได้รับมอบหมาย
          - สรุปงานวิจัยที่ตนสนใจลงในบล็อกเกอร์ โดยห้ามซ้ำกัน และให้นักศึกษาทำบล็อกเกอร์ให้เรียนร้อย


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วัน อังคาร  ที่  12  เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ.  2556

ความรู้ที่ได้รับ

           -  มีการสอบสอนต่อในเรื่องกล้วย   และเรื่องข้าวโพด
                                                               
                                                               อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม


                                                                            วันที่ 1


                                                                          วันที่ 2


                                                                          วันที่ 3


วันที่ 5




สรุปงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

หัวข้อวิจัย
              การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้   โดย  คมขวัญ  อ่อนบึงพร้าว

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
              ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
               1.  แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
               2.  แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

การประเมินพัฒนาการ
               1. สังเกตการตอบคำถาม
               2. สังเกตจากความสนใจในการทำกิจกรรม
               3. สังเกตจากงานศิลปะที่เด็กทำ

สรุป

              คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผลและใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างดี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้     
               ทักษะคณิตศาสตร์เป็นทักษะที่แทรกอยู่ได้ทุกกิจกรรมศิลปะ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้สำรวจค้นคว้า เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดริเริ่มและจินตนาการ อันจะส่งผลให้เด็กมีคุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ ความเป็นเหตุเป็นผล รู้จักการสังเกต  กิจกรรมศิลปะจะช่วยให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสี รูปทรง รูปร่าง พื้นผิว พื้นที่ว่าง น้ำหนัก อ่อน – แก่ของสี การที่เด็กได้วาดภาพซักภาพก็เป็นสิ่งที่ทำให้ทราบว่า เขาได้เรียนรู้แล้วมีประสบการณ์ต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวในระดับใด เป็นการเรียนรู้จากการใช้ความรู้สึกสัมผัสอย่างแท้จริง


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วัน อังคาร  ที่  5  เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2556

ความรู้ที่ได้รับ

         - วันนี้มีการสอบสอนในเรื่อง ไข่ หนึ่งกลุ่ม   อาจารย์มีข้อสนอแนะเพิ่มเติม  ดังนี้

ในวันที่ 1  
            ให้เด็กใช้ประสบการณ์เดิมจากการการถามคำถามของครู
                    -  เด็กๆ  รู้จักไข่อะไรบ้าง  ทำเป็นแผนผังความคิด
                               -  ทำให้ได้ประสบการณ์เดิม
                               -  ได้แลกเปลี่ยนความรู้
                    -  เด็กๆ  คิดว่าในตะกร้ามีอะไร
                    -  เด็กๆ คิดว่าไข่ทั้งหมดในตะกร้ามีกี่ฟอง
                               -  นับไข่ทีละฟอง  (มีภาชนะรอง)
                               -  เอาตัวเลขมาแทนค่า
                    -  ตั้งเกณฑ์ของไข่  1  เกณฑ์  เช่น  ให้เด็กๆ หยิบไข่ที่มีสีขาวมาใส่ในตะกร้า   ที่เหลือเป็นไข่ที่ไม่มีสีขาว  ( หยิบทีละฟองวางจากซ้ายไปขวา )
                    -  ให้นับไข่ที่มีสีขาว  และไข่ที่ไม่มีสีขาว
                    -  หลังจากนั้นก็สรุปรวมกันว่า  ไข่ทั้งหมดมี 5  ฟอง  มีไข่ที่เป็นสีขาว  4  ฟอง  เหลือไข่ที่ไม่ใช่สีขาว 1 ฟอง
                    -  เด็กๆ  ลองดูสิว่าไข่ที่มีสีขาวมากกว่าหรือน้อยกว่าไข่ที่มีสีขาว  เช่น  อ่ะ  เด็กๆ  ลองออกมานับให้คุณครูดูสิว่า  ไข่ที่มีสีขาวมากกว่าหรือน้อยกว่าไข่ที่มีสีขาว    (โดยการจับคู่ 1 ต่อ 1)
                               -  เมื่อจับคู่ 1 ต่อ 1  แล้วอะไรที่มันหมดก่อนแสดงว่ามันน้อยกว่า
                               -  เมื่อจับคู่ 1 ต่อ 1  แล้วออะไรที่มันเหลืออยู่แสดงว่ามันมากกว่า

ในวันที่ 2
                   -  เด็กๆ ค่ะ  ไหนบอกคุณครูสิเมื่อวานเด็กๆ  ได้รู้จักไข่อะไรบ้างค่ะ
                   -  ครูเอาของจริงมาให้ดูว่าในตะกร้า  " เด็กๆ คิดว่าในตะกร้ามีไข่อะไร"  เมื่อเด็กทายเสร็จก็ยกออกมาให้เด็กๆ ดู  โดยการเอาใส่ในตะกร้าอีกใบ
                   -  เอาไปใส่ในตะกร้าเล็กๆ ให้เด็กๆ ดู    โดยใช้คำพูดที่น่าสนใจ  เช่น  " เดี๋ยวเรามาดูกันนะค่ะว่า  ผิวของไข่เป็นยังไง  อย่าพึ่งบอกเพื่อนนะค่ะ  เก็บไว้ก่อน "  ( ทำเป็นตารางบอกลักษณะของไข่ )
                   -  แล้วนำมาแยกความเหมือน - ความต่าง  โดยใช้คำถามว่า  "เด็กๆ ดูสิค่ะว่ามีอะไรที่เหมือนกันบ้าง,  และมีอะไรที่ต่างกันบ้าง"

ในวันที่ 3
                   -  ในเรื่องของประโยชน์ใช้การเล่านิทาน
                   -  ใช้กราฟในการให้เด็กมีส่วนร่วมและได้แสดงความคิดเห็น  เช่น  ครูมีไข่ให้เด็กๆ  เลือก  ไข่ดาว  ไข่เจียว  ไข่ตุ๋น  ให้เด็กๆ ออกมาวางดาวบนกราฟให้เป็นเส้นตรงขึ้นไปเรื่อยๆนะค่ะ

ในวันที่ 4    **  ไม่ได้ทำ  เพราะเป็นการทำคุกกิ้ง  อาจารย์จะนัดทำทีหลัง

ในวันที่ 5
                   -  ถ้าถึงสิ่งที่เรียนมาก่อนหน้านี้
                   -  ถามว่าไข่นำไปทำอะไรได้บ้าง
                   -  ทดลองทำ  เช่น  การทำไข่ตุ๋น  ตามขั้นตอน  ปริมาณต้องแน่นอน

งานที่รับมอบหมาย

         1. ทำ Mind mapping  เรื่อง สาระทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
         2. อ่านวิจัยแล้วสรุป


                                                                        Mind mapping  







วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วัน อังคาร  ที่  29  เดือน  มกราคม  พ.ศ.  2556

ความรู้ที่ได้รับ

          -  อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องกิจกรรมที่ต้องทำ
                    1. งานกีฬาสี
                    2. งานบายเนียร์
                    3. งานแสดงพลังปฐมวัย
ในการเตรียมงานการแสดงพลังปฐมวัยสามารถนำมาเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ได้  เช่น
ในสาระที่ 1
           - จำนวนนักศึกษาทั้งหมดมีกี่คน
           - มีการแสดงอะไรบ้าง
           - ใครทำหน้าที่อะไร  กี่คน

ในสาระที่ 2
           -  เรื่องของการจัดลำดับเวลา

ในสาระที่ 3
           -  เรื่องเวที  ทิศทางการขึ้น - ลงเวที  คนดูอยู่ด้านไหน
ในสาระที่ 4
           -  เรื่องรูปแบบ
ในสาระที่ 5
           -  อาจนำเสนอในรูปแบบกราฟ


                                                                     ภาพกิจกรรม


                                                                          งานกีฬาสี



                                                                         งานปัจจิม



                                                                       งานบายเนียร์


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วัน อังคาร  ที่  22  เดือน มกราคม  พ.ศ.  2556

ความรู้ที่ได้รับ

         -  อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับสาระทั้ง 6 สาระเพิ่มเติม
         -  มีการส่งสื่อแผมภูมิเป็นกลุ่ม   โดยกลุ่มข้าพเจ้าได้แผนภูมิแนวนอน














บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วัน อังคาร  ที่ 15  เดือน มกราคม  พ.ศ.  2556

ความรู้ที่ได้รับ

       - อาจารย์ให้นักศึกษานำฝาขวดน้ำมาส่ง
       - ในวันนี้มีการทบทวนความรู้เดิมและมีการเรียนเกี่ยวกับมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้  ดังนี้

       สาระที่  1  การนับและการดำเนินการ
       มาตรฐาน  ค.ป. 1.1  :  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
                   -  จำนวน
                   -  การรวมกลุ่มและการแยกออก

       สาระที่  2  การวัด
       มาตรฐาน  ค.ป. 2.1  :  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
                   -  ความยาว  น้ำหนัก  และปริมาตร
                   -  เงิน
                   -  เวลา

       สาระที่  3  เรขาคณิต
       มาตรฐาน  ค.ป. 3.1  :  รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทาง
                   -  ตำแหน่ง  ทิศทาง  และระยะทาง

       มาตรฐาน  ค.ป. 3.2  :  รู้จัก  จำแนกรูปเรขาคณิต  และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดการจัดกระทำ
                   -  รูปเรขาตณิตสามมิติ  และรูปเรขาคณิตสองมิติ

       สาระที่  4  พีชคณิต
       มาตรฐาน  ค.ป. 4.1  :  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
                   -  แบบรูปและความสัมพันธ์

       สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
       มาตรฐาน  ค.ป. 5.1  :  รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสิ่งแวดล้อม  และนำเสนอ
                   -  การเก็บรวบรวมข้อมูล  และการนำเสนอ

       สาระที่  6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
                   -  การแก้ปัญหา
                   -  การให้เหตุผล
                   -  การสื่อสาร
                   -  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ
                   -  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
                   -  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วัน อังคาร  ที่  8  เดือน มกราคม  พ.ศ. 2556

ความรู้ที่ได้รับ


        **  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระ  จึงให้นักศึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เรียบร้อย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วัน อังคาร  ที่  1  เดือน  มกราคม  พ.ศ.  2556

ความรู้ที่ได้รับ

        **   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันขึ้นปีใหม่


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วัน อังคาร  ที่  25  เดือน  ธันวาคม   พ.ศ.  2555

ความรู้ที่ได้รับ

             **    ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาค








           

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วัน อังคาร  ที่  18  เดือน ธันวาคม  พ.ศ. 2555

ความรู้ที่ได้รับ

      ทำฝาขวดน้ำ




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วัน  อังคาร  ที่  11  เดือน ธันวาคม  พ.ศ. 2556

ความรู้ที่ได้รับ

         - อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนโดยการใช้คำถาม  ว่า  นักศึกษาเห็นกล่องแล้วคิดถึงอะไร   แล้วนักศึกษาอยากให้กล่องนี้เป็นอะไร    ในหัวข้อนี้ควรใช้ถามบ่อยๆ
         - นักศึกษาคิดว่าเราสามารถนำกล่องเปล่าๆ  มาทำอะไรได้บ้าง
               1. การนับ  เช่น การนับจำนวนกล่อง
               2. การจับคู่  เช่น การจับคู่กล่องที่เหมือนกัน
               3. การจัดประเภท  เช่น  กล่องที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยม  นับด้านของกล่อง เช่น 8/ทั้งหมด  8/15
               4. การจัดลำดับ  เช่น  เรีบงจากขนาดเล็กไปใหญ่  หรือ อาจเรียงจากใหญ่ไปเล็ก
               5. การวัด  เช่น การวัดรูปทรง  วัดระยะทาง  เป็นต้น
               6. การอนุรักษ์  เช่น  การวางตำแหน่ง
               7. การเปรียบเทียบ  เช่น  1 ต่อ 1
               8. การทำตามแบบ  เช่น ครูวางกล่องเรียงต่อกัน   แล้วให้เด็กทำตามทั้งขนาดและตำแหน่ง
               9. เซต เช่น เอาเรื่องราวมาเกี่ยวข้อง  เช่น  ของขวัญปีใหม่
             10. เศษส่วน  เช่น  จะอยู่ในช่วงแรก  ในการนับจำนวนทั้งหมด หรือ ให้เด็กๆนำกล่องทั้งหมดมาแบ่งครึ่งนำไปทำงานศิลปะ
             11. รูปทรงและพื้นที่  เช่น  เริ่มจากการหาค่า  เช่นกล่องสี่เหลี่ยม  และกล่องรูปทรงอื่นๆ มีจำนวนเท่าไหร่   แล้วนำมาเปรียบเทียบ  อาจทำเป็นตารางได้  เมื่อแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม  แล้วนำมาดูว่า  1. รูปทรง  2. ตำแหน่ง / ทิศทาง   3. ขนาด / พื้นที่  4. จำนวน

         - เราสามารถนำกล่องมาทำเป็นงานกลุ่ม  เช่น  การต่อเป็นรูปร่างต่าง   หลังจากนั้นก็ทำเป็นเรื่องราว   เป็นการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ระหว่าง  ใกล้ - ไกล  ได้
         - กล่องสามารถนำไปไว้ในร้านประสบการณ์ (มุม)  จำนวนควรทำเป็นจุดให้เด็กนับจำนวน  เช่น  2 จุด  คือ  2  บาท  เป็นต้น

งานที่ได้รับมอบหมาย

         - ให้เตรียมฝาขวดน้ำมาคนละ  9 ฝา  ใช้ฝาขวดน้ำสีขาว  ติดกระดาษโปรสเตอร์สี  โดยให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด  1 นิ้ว  3 ชิ้น , 1 นิ้วครึ่ง  3 ชิ้น,  2 นิ้ว  3 ชิ้น
           

                                                             ภาพกิจกรรม