วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วัน  อังคาร  ที่  11  เดือน ธันวาคม  พ.ศ. 2556

ความรู้ที่ได้รับ

         - อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนโดยการใช้คำถาม  ว่า  นักศึกษาเห็นกล่องแล้วคิดถึงอะไร   แล้วนักศึกษาอยากให้กล่องนี้เป็นอะไร    ในหัวข้อนี้ควรใช้ถามบ่อยๆ
         - นักศึกษาคิดว่าเราสามารถนำกล่องเปล่าๆ  มาทำอะไรได้บ้าง
               1. การนับ  เช่น การนับจำนวนกล่อง
               2. การจับคู่  เช่น การจับคู่กล่องที่เหมือนกัน
               3. การจัดประเภท  เช่น  กล่องที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยม  นับด้านของกล่อง เช่น 8/ทั้งหมด  8/15
               4. การจัดลำดับ  เช่น  เรีบงจากขนาดเล็กไปใหญ่  หรือ อาจเรียงจากใหญ่ไปเล็ก
               5. การวัด  เช่น การวัดรูปทรง  วัดระยะทาง  เป็นต้น
               6. การอนุรักษ์  เช่น  การวางตำแหน่ง
               7. การเปรียบเทียบ  เช่น  1 ต่อ 1
               8. การทำตามแบบ  เช่น ครูวางกล่องเรียงต่อกัน   แล้วให้เด็กทำตามทั้งขนาดและตำแหน่ง
               9. เซต เช่น เอาเรื่องราวมาเกี่ยวข้อง  เช่น  ของขวัญปีใหม่
             10. เศษส่วน  เช่น  จะอยู่ในช่วงแรก  ในการนับจำนวนทั้งหมด หรือ ให้เด็กๆนำกล่องทั้งหมดมาแบ่งครึ่งนำไปทำงานศิลปะ
             11. รูปทรงและพื้นที่  เช่น  เริ่มจากการหาค่า  เช่นกล่องสี่เหลี่ยม  และกล่องรูปทรงอื่นๆ มีจำนวนเท่าไหร่   แล้วนำมาเปรียบเทียบ  อาจทำเป็นตารางได้  เมื่อแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม  แล้วนำมาดูว่า  1. รูปทรง  2. ตำแหน่ง / ทิศทาง   3. ขนาด / พื้นที่  4. จำนวน

         - เราสามารถนำกล่องมาทำเป็นงานกลุ่ม  เช่น  การต่อเป็นรูปร่างต่าง   หลังจากนั้นก็ทำเป็นเรื่องราว   เป็นการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ระหว่าง  ใกล้ - ไกล  ได้
         - กล่องสามารถนำไปไว้ในร้านประสบการณ์ (มุม)  จำนวนควรทำเป็นจุดให้เด็กนับจำนวน  เช่น  2 จุด  คือ  2  บาท  เป็นต้น

งานที่ได้รับมอบหมาย

         - ให้เตรียมฝาขวดน้ำมาคนละ  9 ฝา  ใช้ฝาขวดน้ำสีขาว  ติดกระดาษโปรสเตอร์สี  โดยให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด  1 นิ้ว  3 ชิ้น , 1 นิ้วครึ่ง  3 ชิ้น,  2 นิ้ว  3 ชิ้น
           

                                                             ภาพกิจกรรม







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น